


จอภาพแบบ CRT มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ใช้เนื้อที่วางเยอะ
หลายๆคนอาจไม่รู้จักคำว่า CRT เนื่องจากเรียนจอภาพว่า จอคอมพิวเตอร์โดยลักษณะภาพนอกที่จำแนกได้ว่าเป็นจอแบบ CRT นั่นคือเป็นจอภาพแบบใหญ่ๆ หนักๆ เหมือนจอโทรทัศน์ ส่วนจอ LCD จะแบนๆ บางๆ นี่แหล่ะคือการจำแนกจอภาพแบบหยาบๆ เอาแบบง่ายๆเลย
เริ่มกันที่จุดเด่นกันก่อน หากใครชอบสีสันสดใส แสงสว่างจ้าๆ คงชอบที่จะใช้จอแบบ CRT มากกว่า เพราะมีความลึกของสีและมีความสดใสของภาพมาก เราอาจเห็นว่า กราฟิคดีไซน์มืออาชีพมักจะเลือกจอภาพแบบ CRT ขนาดใหญ่ๆ (หนักๆ) เพราะให้สีที่ชัดเจน สดใส อิ่มเอมกว่าจอ LCD เยอะ เพราะการออกแบบภาพกราฟิคนั้นจำเป็นต้องเน้นเรื่องสีมากเป็นพิเศษ
เอาล่ะครับ พอมาถึงบรรทัดนี้ ผมจะเริ่มแนะนำให้คุณเลือกใช้จอให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณจะดีกว่า ไม่ใช่ว่าเอาจอ LCD ไว้ใช้โก้ๆ หรูๆ วางเป็นเฟอร์นิเจอร์บนโต๊ะ แต่ให้คำนึงถึงการทำงานของคุณ ว่านำจอภาพไปใช้งานด้านใด เช่น พิมพ์งาน เล่นอินเตอร์เน็ต ชมภาพยนตร์ เล่นเกม ออกแบบกราฟิค ตัดต่อภาพยนตร์ แต่ละงานนั้นมีความต้องการด้านการมองเห็นแตกต่างกัน การพิมพ์งานจะต้องมองตัวอักษรสีดำ บนพื้นสีขาวเป็นเวลานาน ส่วนการออกแบบกราฟิคจะมองสีสันเป็นหลัก และสำหรับการเล่นเกม นั้นมีการเปลี่ยนฉาก การเคลื่อนไหวของตัวละครในเกม จอภาพเป็นสิ่งสำคัญ ที่คู่กับการ์ดแสดงผลเลยทีเดียวในการสร้างมิติภาพในการเล่นเกมที่สมจริง ซึ่งในการใช้งานแต่ละประเภท ต้องการจอภาพที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน
ข้อดีของจอ CRT คือสามารถปรับความละเอียดหน้าจอได้หลากหลาย โดยมีผลต่อความคมชัด และการแสดงผลภาพด้วย
ในขณะที่ราคาของจอแบบ CRT และ LCD มีราคาไม่ต่างกันมากดังเช่นสมัยก่อน ทำให้หลายคนมองข้อเสียของจอภาพแบบ CRT ว่าใหญ่ และหนัก ไม่สะดวกในการวาง ส่วนจอภาพแบบ LCD ในขนาดการแสดงผลที่เท่ากันกลับมาขนาดการแสดงผลจอภาพที่กว้างกว่า และมีขนาดของจอที่เล็กกว่า รวมทั้งมีน้ำหนักเบา สะดวกในการจัดวางได้ทุกที่ นอกจากนี้จอ LCD ยังมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่ต่ำกว่าอีกด้วย เนื่องจากจอภาพแบบ CRT จะต้องใช้พลังงานในการยิงลำแสงอีเล็คตรอนและมีความร้อนสูงกว่าจอภาพแบบ LCD ด้วย
ข้อดีของจอ CRT:
รองรับการแสดงผลได้หลากหลายมีอัตราค่า Refresh Rate ที่สูงกว่าสีสันสดใส คมชัดกว่า
ข้อด้อย:
ขนาดใหญ่ น้ำหนักมากสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่ามีความร้อนสูง

จอภาพแบบ LCD
เมื่อนึกถึงจอภาพแบบ LCD แล้ว ด้วยความที่ในสมัยก่อน จอภาพแบบ LCD มีราคาสูงมาก จนทำให้ผู้ใช้งานในระดับล่างและกลางไม่อาจเลือกซื้อมาใช้งานได้ ทำให้หลายๆคนมองว่าจอ LCD ใช้งานสำหรับนักธุรกิจ ผู้บริหาร หรือคนมีเงินใช้กัน ซึ่งในความเป็นจริงราคาก็เป็นส่วนสำคัญ แต่อยากจะใช้มองถึงเรื่องประโยชน์และลักษณะในการใช้สอยมากกว่า โดยจุดเด่นของจอ LCD คือขนาดเล็ก บาง น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สะดวก แถมยังสว่างกว่าจอแบบ CRT อีกด้วย ซึ่งหลายๆคนต้องการจอภาพที่แสดงผลขนาดใหญ่ จึงมองจอ LCD ที่ให้มุมมองในการมองเห็นที่กว้างกว่าในขนาดการแสดงผลที่เท่ากัน
ในปัจจุบัน จอ LCD ไม่ได้มีราคาสูงจะเกินเอื้อมอย่างสมัยก่อนอีกแล้ว ทำให้หลายคนเริ่มหันมามองจอ LCD กันมากขึ้น (ด้วยความที่ราคาจอแบบ LCD ในปัจจุบัน มีความใกล้เคียงกันจอภาพแบบ CRT ในสมัยก่อนและมีราคาที่แตกต่างจากจอภาพแบบ CRT ไม่มากนัก (ประมาณ 2 – 3 พันบาทเท่านั้น)
แน่นอนว่าเหตุผลแรกๆที่ผู้ใช้มองหาจอ LCD คือเรื่องของการมองเห็นที่สบายตา ไม่เมื่อยล้าเนื่องจากอัตรา Refresh Rate และรังสีที่แผ่ออกมาเหมือนจอ CRT มุมมองของจอภาพแบบ LCD ดีกว่าและใช้งานเป็นเวลานานๆได้อย่างสบายและไม่เมื่อยล้าสายตา
แต่สิ่งที่เป็นข้อเสียของจอ LCD คือมีการจำกัดหรือตั้งค่า native resolution ไว้ ทำให้การแสดงผลของจอ LCD สามารถแสดงผลได้จำกัดจำนวนพิกเซลที่กำหนด ทำให้ผู้ใช้งานบางประเภทต้องตัดสินใจตัดตัวเลือกจอ LCD ทิ้งไป เนื่องจากข้อจำกัดในการแสดงผลนั่นเอง
----------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------
นับย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน อเมริกานับเป็นประเทศแรก ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สมัยนั้นมีนักวิจัยทำรายงานและเก็บสถิติได้ว่า ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นประสบปัญหาโรคทางสายตา เช่น ต้อกระจก เกิดอาการเครียด ปวดศีรษะมากที่สุด เพราะจอหรือมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนา
คอมพิวเตอร์ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ทว่าทำให้เราเกิดโรคใหม่ ที่ไม่มีเชื้อ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่ใช่โรคติดต่อ โรคพวกนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วรักษาให้หายยาก ใช้เวลานาน นอกจากจะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองแล้ว ยังทำลายคุณภาพชีวิตด้วย ทำให้ขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดการออกกำลังกาย ขาดโภชนาการที่ดี
ป้องกันสายตาล้าจากคอมพิวเตอร์

โลกการทำงานแบบสมัยใหม่ ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ในการทำงานกัน จนกระทั่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีหลายคนเกิดอาการเจ็บป่วยทางสายตาขึ้นมา อันเนื่องจากการใช้อุปกรณ์ทำงานชิ้นนี้อย่างไม่เหมาะสม
การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์คราวละนานๆ หลายชั่วโมงนั้น จะทำให้เกิดอาการล้าสายตาขึ้นได้ แต่ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานสักเล็กน้อยก็จะสามารถป้องกันอาการนี้ไม่ให้เกิดขึ้น
สมาคมป้องกันอาการตาบอดในอเมริกา มีข้อแนะนำมาฝากสำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ว่าควรจะ
-ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ห่างจากหน้าผู้ใช้ประมาณ 20 - 26 นิ้ว และอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย
-ควรจะหลีกเลี่ยงแสงที่ส่องจ้าเกินไปจากหน้าจอโดยปรับให้มีดวงไฟ / โคมไฟเหนือศีรษะ หรือติดตั้งม่านบังแสงไม่ให้เกิดแสงสะท้อน อีกทางหนึ่งที่จะช่วยได้คืออาจจะติดตั้งแผ่นกรองแสงที่หน้าจอ เพื่อลดแสงสว่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
-เมื่อตอนตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ควรเลือกซื้อแบบ ที่ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับที่สบายตา ไม่สูงหรือต่ำเกินไป
-ในขณะที่ต้องพิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ ควรหาที่จับเอกสารวางไว้ ด้านข้างหน้าจอ เพื่อจะได้ไม่ต้องเอี้ยวคอไปมาเวลาต้องพิมพ์งาน
-คำแนะนำที่นำไปปฏิบัติได้ง่าย ๆ เหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยให้อาการล้าสายตาชะลอออกไปได้นานขึ้นบ้าง

ผลการวิจัย
ข้อมูลจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดย พ.อ.นพ.กิฎาพล วัฒนกูล ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้รวบรวมเรื่องราวรอบโรคนำเสนอเป็นความรู้ที่น่าสนใจถึง กลุ่มอาการที่อาจกล่าวว่าเป็นโรคใหม่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ คือ Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) เป็นอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ไม่ใช่โรค แต่เป็นปฏิกิริยาจากการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลัก และโรคใหม่อีกโรค คือ โรค Hurry Sickness (โรคทนรอไม่ได้) มักเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้อาการกระวนกระวาย ซึ่งหากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายเป็นโรคประสาทได้ ซึ่งอาจนำไปถึงการเสียเพื่อน และตกงานได้ รายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ได้มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในหลาย ๆ ประเทศ พอสรุปได้ดังนี้คือ
1. ในประเทศสวีเดน พบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อทางเคมีว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิวเตอร์
2. ในประเทศญี่ปุ่น มีผลการวิจัยบ่งชี้ว่า การใช้เวลาทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ สามารถทำให้มีอาการป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวมทั้งอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ อาการอ่อนเพลีย ซึ่งกลายเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้น เป็นประจำสำหรับพนักงานที่ใช้เวลาเกินกว่า 5 ชั่วโมงทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ในแต่ละวัน
3. ในประเทศไทย โดยกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากหลาย ๆ หน่วยงานพบว่า ห้องทำงานส่วนใหญ่มีสภาพการจัดที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ร้อยละ 62 ที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบสายตา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ อันเนื่องมาจากการใช้คอม พิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
โรคและกลุ่มอาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์'
โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองก่อน หรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงาน ให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเจาะจงเฉพาะที่ได้
โรคนี้มีความคล้ายกับ โรคจากการทำงานซ้ำซาก ซึ่งนักกายภาพบำบัดอธิบายว่า พบมากในผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน มักจะมีอาการชาข้อมือ หรือที่เรียกว่า กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดเนื่องจากการใช้งานซ้ำ ๆ ที่บริเวณข้อมือ ทำให้เอ็นรอบ ๆ ข้อมือหนาตัวขึ้นแล้วไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บได้ ซึ่งการรักษานอกจากทางกายภาพ โดยใช้ความร้อนทำให้บริเวณที่จับหนาตัวขึ้นนิ่มลงและยืดมันออก ทำให้อุโมงค์ที่เส้นประสาทลอดผ่านขยายตัวได้ แต่ถ้าผู้ที่เป็นมาก ๆ จะมีอาการชาจนกระทั่งกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไป การผ่าตัดคือ วิธีรักษาที่ดีที่สุด
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ ท่านจึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้บ้าง มิฉะนั้นท่านจะเป็นคนที่เสียทั้งงานและเสียทั้งเพื่อนได้
โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิว เตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
สรุปภัยจากคอมพิวเตอร์'
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังจะกลายเป็นอุป กรณ์ธรรมดา ๆ ที่จำเป็นต้องมีของทุกหน่วยงาน พนักงานทุกคนต้องใช้เป็น ความเสี่ยงจึงเกิดกับท่านที่ใช้ชีวิตอยู่หน้าจอเป็นประจำเท่านั้น โดยเฉพาะท่านที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน ผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นที่แน่ ๆ ก็คือ ปวดหลัง ปวดไหล่ ต้นคอ และข้อมือ เกิดอาการเครียดที่ตา เพราะขณะมองจอนั้นผู้ใช้มักไม่กะพริบตา เป็นผลให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้ และอาการที่ตามมาคือ ตาพร่า และมองไม่เห็นชั่วคราว นอกจากนี้ยังอาจมีอาการไมเกรนพ่วงมาด้วย
ปัญหาทางตาเป็นปัญหาที่น่าห่วงมาก เพราะเมื่อตาเกิดความเครียด กล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตา จนเกิดความเมื่อยล้า จึงมีคำแนะนำว่า ถ้าต้องใช้สายตาอยู่กับหน้าจอนาน ๆ ควรพักสายตาทุก ๆ สิบนาที ด้วยการเปลี่ยนไปมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปสัก 20 ฟุต มองสัก 2-3 นาทีแล้วค่อยมองจอต่อ ทั้งหมดคงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เอง ที่จะต้องรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง เพราะถ้าเกิดปัญหาทางสายตาขึ้น จะไปเรียกร้องเงินทดแทนก็คงทำได้ยาก

ข้อเสนอแนะ
การจัดและปรับสภาพโต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคน ควรปรับระดับที่เหมาะสมของตนเอง เพื่อให้ได้ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของร่างกาย จึงขอเสนอคำแนะนำในการจัดสัดส่วนงานคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียด ดังนี้ คือ
- จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวประมาณ 20 องศา
- ระยะในการมอง ควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซม.
- เก้าอี้ปรับระดับได้ และ/หรือโต๊ะปรับระดับความสูงได้
- นั่งหลังตรง หลังพิงพนักพิง
- จอภาพควรเป็นประเภทตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่าง ภายใต้ระดับความส่องสว่างของแสงประมาณ 300-500 ลักซ์ หรืออย่าให้มีการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบ ทำให้เสมือนมีหมอกมาบดบังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์.
http://www.panyathai.or.th/
"คุณลองมองย้อนดูเกมนั้นซิว่า มีการตั้งใจทำฟาวล์เกิดขึ้นหลายครั้งหรือเปล่า นี่ถือเป็นปัญหาใหญ่ในวงการฟุตบอล เพราะทำให้เกมหยุดชะงักขาดความต่อเนื่อง ทุกคนต้องการซื้อตั๋วเข้ามาดูเกมการเล่นที่สวยงามไม่ใช่การเตะฟรีคิกแต่อย่างใด" เวนเกอร์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น